บริการยื่นขอคุณค่าโภชนาการ Nutrition Facts


Nutrition Fact ข้อมูลโภชนาการ คืออะไร?


ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลโภชนาการ


1) Nutrition Fact ข้อมูลโภชนาการ 

คือ ข้อมูลตารางโภชนาการของสินค้านั้นๆ

 

2 ) สินค้า จะมี 4 ประเภทใหญ่ๆที่ต้องมีข้อมูลโภชนาการ ดังนี้

ข้อ 1 ให้อาหารดังต่อไปนี้เป็นอาหารทีต้องแสดงฉลากโภชนาการ
1.1 อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ
1.2 อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย
1.3 อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย
1.4 อาหารอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร
และ อาหาร 13 ชนิดที่ต้องแสดง GDA รายละเอียดดังนี้
ข้อ 3 ให้อาหารที่อยู่ในภาชนะพร้อมจำหน่ายต่อผู้บริโภคดังต่อไปนี้ เป็นอาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม แบบจีดีเอ
(1) อาหารขบเคี้ยว ได้แก่
(1.1) มันฝรั่ง ทอด หรืออบกรอบ
(1.2) ข้าวโพด คั่ว ทอด หรืออบกรอบ
(1.3) ข้าวเกรียบ ทอด หรืออบกรอบ หรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง
(1.4) ถั่วหรือนัตหรือเมล็ดพืชอื่น ทอด หรืออบกรอบ หรืออบเกลือ หรือเคลือบปรุงรส
(1.5) สาหร่าย ทอด หรืออบกรอบ หรือปรุงรส
(1.6) เนื้อสัตว์ที่ทำเป็นเส้น แผ่น ทอด หรืออบกรอบ หรือปรุงรส
(1.7) อาหารขบเคี้ยวตาม (1.1) – (1.6)ผสมกันมากกว่า 1 ชนิด
(2) ช็อกโกแลต และขนมหวานรสช็อกโกแลต
(3) ผลิดภัณฑ์ขนมอบ ได้แก่
(3.1) ขนมปังกรอบ หรือแครกเกอร์ หรือบิสกิต
(3.2) เวเฟอร์สอดใส้
(3.3) คุกกี้
(3.4) เค้ก
(3.5) พาย เพสตรี ทั้งชนิด ที่มีและไม่มีใส้
(4) อาหารกึ่งสำเร็จรุป ได้แก่
(4.1) ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตามพร้อมซองเครื่องปรุง
(4.2) ข้าวต้มที่ปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง
(5) อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย
(6) เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ได้แก่
(6.1) เครื่องดื่มที่มีหรือทำจากผลไม้ พืชหรือผัก ไม่ว่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรืออกซิเจนผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ยกเว้นเครื่องดื่มจากพืชที่ทำให้แห้งในลักษณะของชาชง
(6.2) เครื่องดื่มที่มีหรือทำจากส่วนผสมที่ไม่ใช่ผลไม้ พืชหรือผัก ไม่ว่าจะมี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจน ผสมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ที่นำมาปรุงแต่งรสในลักษณะพร้อมบริโภค
(6.3) เครื่องดื่มตาม (6.1) หรือ (6.2) ชนิดแห้ง
(7) ชาปรุงสำเร็จ ทั้งชนิดเหลวและชนิดแห้ง
(8) กาแฟปรุงสำเร็จ ทั้งชนิดเหลวและชนิดแห้ง
(9) นมปรุงแต่ง
(10) นมเปรี้ยว
(11) ผลิตภัณฑ์ของนม
(12) น้ำนมถั่วเหลือง
(13) ไอศกรีมที่อยู่ในลักษณะพร้อมบริโภค


3) สามารถ ส่งตรวจที่ LAB


การอ่านฉลากก่อนซื้อ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ได้รับสารอาหารตรงตามความต้องการ เนื่องจากฉลากอาหารมีข้อมูลพื้นฐานที่จะบอกว่าอาหารนั้นผลิตที่ไหน มีส่วนประกอบอะไร การเก็บรักษาต้องทำอย่างไร 

ผลิตและหมดอายุเมื่อไหร่ วัตถุเจือปน รวมถึงข้อควรระวัง คำเตือน และสิ่งสำคัญคือการได้รับอนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก อย. หรือไม่ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่ดูแลสุขภาพ 

และผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

ฉลากอาหารที่มีการแสดงโภชนาการ ซึ่งระบุชนิดปริมาณสารอาหารของอาหารนั้นในกรอบสี่เหลี่ยมเรียกว่า "กรอบข้อมูลโภชนาการ" หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Nutrition Information" 

 

ซึ่งมีอยู่สองรูปแบบได้แก่ แบบเต็มและแบบย่อ

1. ฉลากโภชนาการแบบเต็ม เป็นฉลากที่แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารสำคัญ ที่ควรทราบ 15 รายการ
2. ฉลากโภชนาการแบบย่อ ใช้ในกรณีที่สารอาหารตั้งแต่ 8 รายการจากจำนวนที่กำหนดเอาไว้ 15 รายการ มีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นเป็นศูนย์ จึงไม่มีความจำเป็นให้แสดงเต็มรูปแบบ และฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (ฉลาก หวาน มัน เค็ม )

 

วิธีการอ่านฉลากโภชนาการ

 

1. ดูปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค เป็นปริมาณการกินต่อครั้งที่แนะนำให้ผู้บริโภครับประทาน
2. ดูจำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ เป็นจำนวนที่บอกว่าถ้ากินครั้งละหนึ่งหน่วยบริโภคจะแบ่งกินได้กี่ครั้ง
3. ดูคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ว่าจะได้พลังงานเท่าใดสารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าใด
4. ดูร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ส่วนสุดท้ายจะเป็นการให้ข้อมูลเรื่องความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล
ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (ฉลาก หวาน มัน เค็ม ) คืออะไร
ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amount) อาจเรียกง่าย ๆ ว่า ฉลากหวาน มัน เค็ม จะปรากฏบนบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานอย่าง มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ 

ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้
โดยนำข้อมูลของสารอาหาร 4 ชนิด คือ พลังงาน (กิโลแคลอรี่) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) มาแสดงให้ผู้บริโภคเห็นได้อย่างชัดเจนและอ่านง่าย
เพื่อจะได้เปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่าหรือเหมาะสมกว่า ทำให้ผู้บริโภคได้รับพลังงานและสารอาหารมากเกินความจำเป็น 

 

โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเรื่องโภชนาการ หรือควบคุมน้ำหนัก เพราะการรับประทานอาหารที่มีพลังงานเกินความจำเป็นทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

 

(Non–Communicable Diseases: NCDs) มากขึ้น ซึ่งรวมถึงโรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคข้อต่ออักเสบ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น

 

อ่านง่ายได้ประโยชน์

 

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ได้แก้ไขปรับปรุงให้ฉลากโภชนาการสามารถเข้าใจได้ง่าย ผู้บริโภคสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และอ่านง่าย โดยฉลากโภชนาการจีดีเอ หรือฉลากหวาน มัน เค็ม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ๆ


ส่วนที่ 1 บอกคุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 ถุง 1 ซอง หรือ 1 กล่อง คือ พลังงานรวม ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับจากอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานชนิดนั้น ๆ

ส่วนที่ 2 บอกปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทาน กรณีที่อาหารนั้นบริโภคได้มากกว่า 1 ครั้งจะบอกว่า ควรแบ่งกินกี่ครั้ง

ส่วนที่ 3 บอกปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม เช่น หากรับประทานทั้งซองจะได้รับพลังงาน 450 กิโลแคลอรี น้ำตาล 6 กรัม ไขมัน 21 กรัม โซเดียม 750 มิลลิกรัม เป็นต้น

ส่วนที่ 4 บอกจำนวนพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม โดยคิดเป็นร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน

 


ฉลากโภชนาการจีดีเอ ในชีวิตประจำวัน

 

ข้อมูลในฉลากโภชนาการจีดีเอช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้ออาหารรับประทานได้ เพราะบอกปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมของอาหารชนิดนั้นอย่างชัดเจน รวมทั้งปริมาณที่ควรบริโภคในหนึ่งวันด้วย
ข้อมูลในฉลากโภชนาการจีดีเอ ยังทำให้สามารถเปรียบเทียบปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมของแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ง่าย ทำให้รู้ว่า ควรเลือกผลิตภัณฑ์ใด ควรรับประทานหรือหลีกเลี่ยง เช่น


-หากต้องการควบคุมน้ำหนัก ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพลังงาน น้ำตาล และไขมันสูง
-คนที่มีไขมันในเลือดสูง ต้องระวังไขมัน
-ผู้เป็นเบาหวาน ต้องระวังน้ำตาล
-คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง ควรลดโซเดียม เป็นต้น
ข้อมูลในฉลากโภชนาการจีดีเอทำให้สามารถวางแผนการบริโภคได้มากขึ้น หากมื้อนี้รับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงแล้ว มื้อต่อไปควรเลือกอาหารที่มีพลังงานน้อย หรือทำให้รู้ว่า ต้องแบ่งรับประทานกี่ครั้งเพื่อจะได้ไม่รับพลังงานมากเกินไป เป็นต้น

 

ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากการรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ก่อนรับประทานอาหารสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทุกครั้ง จึงไม่ควรมองผ่านฉลากโภชนาการจีดีเอฉลากโภชนาการ

 

Nutrition Fact หรือ Nutrition Information ข้อมูลโภชนาการ

Nutrition Fact ภาษาอังกฤษ

Nutrition Fact ภาษาไทย

GDA ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ
(ฉลาก หวาน มัน เค็ม )

 

Visitors: 30,110